วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555

วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เจ้าคือดวงใจของแม่

คนดีของแม่ & ความหวังของแม่
 เด็กชายเดชดนัย  ขุนศรี  (เหนือ)

 ผมเหมือนพ่อหรือเหมือนแม่

วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Happy Valentine's Day

ประวัติวันวาเลนไทน์
ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ของทุกปี ถือเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวคริสต์ นั่นก็คือ วันวาเลนไทน์ นั่นเอง วันวาเลนไทน์ หรือ วันนักบุญวาเลนไทน์ หรือที่รู้จักกันว่า วันแห่งความรัก นั้น เป็นวันที่คู่รักจะบอกความในใจของกันและกัน อาจจะโดยการส่งการ์ด, มอบดอกไม้ หรือพากันไปท่องเที่ยวในสถานที่หวานแหววโรแมนติคสุดประทับใจ สำหรับในประเทศไทยเอง เทศกาลแห่งความรักนี้ก็ได้รับความนิยมแพร่หลาย ไม่ว่าจะในหมู่ชาวคริสต์ หรือชาวพุทธก็ตาม
        สำหรับประวัติวันวาเลนไทน์นั้น หลาย ๆ คนคงสงสัยว่าเกิดขึ้นเพราะอะไร เหตุเป็นเพราะวันที่ 14 กุมภาพันธ์นั้น เป็นวันเสียชีวิตของนักบุญวาเลนไทน์ หรือเซนต์วาเลนไทน์ นักบุญแห่งความรักนั่นเอง นักบุญวาเลนไทน์ เป็นผู้ริเริ่มการจัดงานแต่งงานในยุคที่ไม่นิยมให้แต่งงานกัน เหตุเพราะในช่วงนั้น โรม ต้องประสบกับสงคราม จักรพรรดิคลอดิอุสที่สอง ต้องการเกณฑ์คนไปรบ แต่มีบุคคลจำนวนมากที่มีครอบครัว มีภรรยา มีคนรัก ต่างไม่อยากจะทิ้งครอบครัวไป ทำให้ จักรพรรดิคลอดิอุสที่สอง ตัดสินใจให้ยกเลิกการแต่งงานและการหมั้นทั้งหมดของชาวโรมันในยุคนั้นไปหมด อย่างสิ้นเชิง
        แต่นักบุญวาเลนไทน์กลับสวนกระแสของจักรพรรดิคลอดิอุสที่สอง ชักชวนคู่รักมาแต่งงานหลายต่อหลายคู่ จนโดนจับตัวไปขังเอาไว้ และในคุกที่คุมขังนักบุญวาเลนไทน์นั้น เขาได้พบรักกับสาวตาบอดนางหนึ่ง เมื่อโดนจับได้ นักบุญวาเลนไทน์จึงถูกนำตัวไปประหารในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ วันดังกล่าวจึงกลายมาเป็น วันวาเลนไทน์ วันที่ผู้คนจะรำลึกถึงนักบุญผู้อุทิศตนให้ความรักนั่นเอง
สัญลักษณ์ของวันวาเลนไทน์
สัญลักษณ์ของวันวาเลนไทน์คือ เทพเจ้าคิวปิด ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความรักดั้งเดิมของชาวโรมัน ร่างกายเป็นเด็กทารกติดปีก กำลังโก่งคันศรทองเล็งไปยังหัวใจของผู้คน ตามตำนานของกรีกและโรมันพูดถึงคิวปิดว่า เป็นบุตรของมาร์ (เทพเจ้าของสงคราม) และ วีนัส (เทพเจ้าแห่งความรักและความงาม) 
          ตำนานความรักของ เทพเจ้าคิวปิด นั้น ในอดีต เทพเจ้าวีนัสอิจฉา "ไซกี" ธิดาวัยกำลังแรกรุ่นของกษัตริย์องค์หนึ่ง ที่สำคัญคือไซกีสวยกว่าเทพเจ้าวีนัสมาก นางเลยส่งเทพเจ้าคิวปิดไปหาไซกี เพื่อบันดาลให้ไซกีมีความรักกับบุรุษเพศ แต่เทพเจ้าคิวปิดกลับหลงรักไซกีและพามาที่วัง และลอบมาหาในเวลากลางคืนเพื่อไม่ให้ไซกีรู้ว่าตนเองเป็นใคร แต่มีคนยุให้ไซกีแอบดูตอนเทพเจ้าคิวปิดนอนหลับ แต่ด้วยความตื่นเต้นของไซกีที่เห็นเทพเจ้าคิวปิดเป็นหนุ่มรูปงาม เลยเผลอทำน้ำมันตะเกียงหกใส่เทพเจ้าคิวปิด เมื่อเทพเจ้าคิวปิดรู้สึกตัวตื่นขึ้นก็โกรธมากที่นางขัดคำสั่ง จึงทิ้งนางไป
          เมื่อโดนทิ้ง ไซกีก็ออกตามหาเทพเจ้าคิวปิด ซึ่งตลอดเวลาไซกีถูกเทพเจ้าวีนัสกลั่นแกล้งต่าง ๆ นานา จนเทพเจ้าคิวปิดเห็นใจต้องเข้ามาช่วย เทพเจ้าจูปิเตอร์เห็นใจ จึงช่วยให้ทั้งสองได้ครองรักกัน
ธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติกันในวันวาเลนไทน์ หลายร้อยปีก่อนในประเทศอังกฤษ เด็ก ๆ จะแต่งตัวลอกเลียนแบบผู้ใหญ่ในวันวาเลนไทน์ แล้วร้องเพลงจากบ้านหลังหนึ่งไปยังบ้านอีกหลังหนึ่ง ในเนื้อเพลงท่อนหนึ่งจะกล่าวว่า " Good morning to you, Valentine ; Curl your locks as I do mine --- Two before and three behind. Good morning to you, Valentine."   ในประเทศเวลส์ ผู้ที่มีความรักและชื่นชมในงานช้อนไม้แกะสลัก จะทำการแกะสลักช้อนและมอบให้เป็นของขวัญในวันวาเลนไทน์ โดยจะสลักรูปหัวใจ และลูกกุญแจไว้บนช้อนนั้น ซึ่งมีความหมายว่า "คุณได้ไขหัวใจของฉัน" (You unlock my heart)  เด็กหนุ่มสาวจะทำการเขียนชื่อคนที่ตัวเองชอบ แล้วหย่อนไว้ในอ่างหรือชาม แล้วหยิบขึ้นมาหนึ่งชื่อ เพื่อดูว่าใครจะเป็นคู่ของตัวเองในวันวาเลนไทน์ หลังจากนั้นก็จะเอาชื่อที่หยิบได้นี้มาติดไว้ที่แขนเสื้อเป็นเวลาหนึ่ง สัปดาห์ การทำเช่นนี้มีความหมายว่า คนๆ นั้นต้องการบอกคนทั่วไปรู้ได้ง่าย ๆ ว่าตัวเองรู้สึกอย่างไร   ในบางประเทศ ผู้หญิงจะได้รับของขวัญเป็นเครื่องแต่งกายจากผู้ชาย แล้วถ้าผู้หญิงคนนั้นเก็บของขวัญชิ้นนี้เอาไว้นั่นหมายถึงหล่อนจะแต่งงานกับเขา   บางคนมีความเชื่อว่า ถ้าผู้หญิงคนใดเห็นนกโรบินบินผ่านเหนือศรีษะตนเองในวันวาเลนไทน์ นั่นหมายถึงหล่อนจะได้แต่งงานกับกะลาสีเรือ หรือถ้าผู้หญิงคนใดเห็นนกกระจอก หล่อนก็จะได้แต่งงานกับชายยากจนและจะมีความสุข และถ้าผู้หญิงคนไหนเห็นนก Goldfinch หมายถึงหล่อนจะได้แต่งงานกับมหาเศรษฐี  ในบางประเทศจะมีการทำเก้าอี้แห่งรักขึ้นมา ซึ่งจะเป็นเก้าอี้ที่มีขนาดกว้าง ในครั้งแรกที่มีการทำเก้าอี้นี้ขึ้นมาก็เพื่อจะให้ผู้หญิงที่แต่งตัวในชุดราตรีนั่ง ต่อมาเก้าอี้แห่งรักนี้ได้ทำขึ้นเป็นสองส่วนและมักจะทำเป็นรูปตัวเอส (S) ซึ่งการทำเก้าอี้ทรงนี้จะทำให้คู่รักสามารถนั่งด้วยกันได้ แต่จะไม่ใกล้ชิดกันจนเกินไป  บางธรรมเนียมในบางแห่งของโลก เด็กหนุ่มสาวจะนึกถึงชื่อของคนที่ตัวเองอยากจะแต่งงานด้วยประมาณห้าถึงหกชื่อ ในขณะที่ปอกเปลือกผลแอปเปิ้ลนั้นให้เป็นขดนั้น ก็ให้เอ่ยชื่อของคนที่นึกถึงออกมาจนกว่าจะปอกเปลือกแอปเปิ้ลได้หมดผล และเชื่อกันว่า คนที่จะได้แต่งงานด้วยนั้นคือคนที่เอ่ยชื่อถึงในขณะที่ปอกเปลือกของแอปเปิ้ล ได้หมดพอดี   ในบางประเทศมีความเชื่อว่า ถ้าหากผ่าผลแอปเปิ้ลออกมาเป็นสองซีก แล้วให้นับเมล็ดข้างในดู แล้วก็จะสามารถรู้จำนวนบุตรในอนาคตได้ 

 

วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีภาวะผู้นำ University of Michigan Studies

การศึกษาภาวะผู้นำของมหาวิทยาลัยมิชิแกน
  (University   of   Michigan   Studies)
การศึกษาภาวะผู้นำของมหาวิทยาลัยมิชิแกน มุ่งเน้นหาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมของผู้นำกับกระบวนการกลุ่ม และผลการปฏิบัติงานของกลุ่ม ซึ่งผลงานของกลุ่มจะใช้เป็นเกณฑ์ในการแยกผู้นำที่มีประสิทธิภาพ และผู้นำที่ไม่มีประสิทธิภาพหรือมีประสิทธิภาพน้อยการศึกษาสรุปพฤติกรรมผู้นำเป็น  3   แบบ
1)  พฤติกรรมมุ่งงาน (Task-Oriented Behavior)   ผู้นำที่มีประสิทธิภาพจะไม่ใช้เวลาและความพยายามในการทำงานเหมือนกับผู้ใต้บังคับบัญชาแต่จะมุ่งไปที่ภาระหน้าที่ของผู้นำซึ่งได้แก่ การวางแผน การจัดตารางการทำงาน ช่วยประสานกิจกรรมต่างๆ ของผู้ใต้บังคับบัญชาจัดหาวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ รวมทั้งเทคนิควิธีการทำงานยิ่งกว่านั้น ผู้นำที่มีประสิทธิภาพจะแนะนำให้ลูกน้องตั้งเป้าหมายของงานที่ท้าทาย และเป็นไปได้
2) พฤติกรรมมุ่งความสัมพันธ์หรือมุ่งคน (Relationship-Oriented Behavior)  ผู้นำที่มีประสิทธิภาพจะเป็นผู้นำที่ห่วงใย สนับสนุน และช่วยเหลือผู้ใต้บังคับบัญชา ทั้งยังศรัทธาเชื่อมั่น และมีความเป็นเพื่อน พยายามเข้าใจปัญหาของลูกน้อง ช่วยให้ลูกน้องมีการพัฒนาในอาชีพและสนับสนุนให้ประสบความสำเร็จผู้นำที่มีประสิทธิภาพจะไม่ควบคุมลูกน้องใกล้ชิ ดูแลอยู่ห่าง ๆ อย่างให้เกียรติ ผู้นำจะตั้งเป้าหมายและให้คำแนะนำ แต่ก็ให้อิสระในการทำงาน
3) ภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม (Participative Leadership)     Rensis  Likert  และสถาบันวิจัยสังคม  มหาวิทยาลัยมิชิแกนทำการวิจัยด้านภาวะผู้นำ ได้เสนอว่าการนิเทศหรือติดตามดูแลการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาควรกระทำโดยใช้กลุ่มนิเทศงานจะดีกว่าจะนิเทศคนเดียว เพราะการนิเทศงานโดยกลุ่มจะเปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชา เข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาและตัดสินใจ นอกจากนั้นยังช่วยเพิ่มการสื่อสาร เพิ่มความร่วมมือและลดความขัดแย้ง หน้าที่ของผู้นำในกลุ่มนิเทศงาน ควรจะเป็นผู้นำในการอภิปรายผลให้การสนับสนุนให้มีการอภิปรายกำหนดขอบเขตและทิศทางในการแก้ปัญหาต่าง ๆ
ภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม คณะวิจัยของมหาวิทยาลัยมิชิแกน  
(Participative  Leadership)
การศึกษาภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับกระบวนการตัดสินใจ โดยผู้นำมีแนวโน้มจะเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นมาร่วมในการตัดสินใจหรือให้มีอิทธิพลในการตัดสินใจของผู้นำเช่น การปรึกษา การร่วมตัดสินใจ
1) การตัดสินใจแบบเผด็จการ (Autocratic Decision)   คือการที่ผู้นำตัดสินใจแต่ลำพังผู้เดียวโดยไม่มีการถามความคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะจากบุคคลอื่น เป็นการตัดสินใจที่ไม่มีอิทธิพลของบุคคลใดต่อการตัดสินใจ
2) การตัดสินใจแบบปรึกษา (Consultation) คือ การตัดสินใจที่ผู้นำยังคงตัดสินใจเอง แต่ได้มีการปรึกษาและขอความคิดเห็นกับบุคคลต่าง ๆ และนำมาพิจารณาก่อนที่จะทำการตัดสินใจ สรุปว่าการตัดสินใจเริ่มมีอิทธิพลของผู้อื่นต่อการตัดสินใจของผู้นำบ้างแล้ว
3) การร่วมกันตัดสินใจ (Joint Decision) เป็นการตัดสินใจที่ผู้นำ และผู้ใต้บังคับบัญชาได้มาร่วมประชุมแล้ว อภิปรายถึงปัญหาและทางเลือกต่าง ๆ ที่ดี ก่อนที่จะร่วมกันตัดสินใจโดยที่ผู้นำมีฐานะเป็นเพียงสมาชิกของกลุ่มคนหนึ่ง ไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของคนอื่น ๆ ผลการตัดสินใจถือเป็นการตัดสินใจของกลุ่ม 
 4) การมอบหมายให้ตัดสินใจ (Delegation)  คือ การตัดสินใจที่ผู้นำจะมอบหมายอำนาจหน้าที่นี้ให้แก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลให้ทำการตัดสินใจแทน โดยผู้นำจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกระบวนการตัดสินใจ แต่ในการมอบหมายจะบอกถึงปัญหา และขอบเขตของอำนาจที่พึงจะตัดสินใจแบบนี้ จึงเป็นการตัดสินใจที่ถือว่ามีอิทธิพลของบุคคลอื่นสูงที่สุด
ประโยชน์ของการตัดสินใจแบบมีส่วนร่วม
1. ช่วยปรับปรุงคุณภาพของการตัดสินใจ  (improved decision quality)
2. เพิ่มการยอมรับผลการตัดสิน  (greater acceptance of decisions)
3. เพิ่มความเข้าใจในเหตุผลของการตัดสินใจ  (better understanding of  decisions)
4. พัฒนาทักษะการตัดสินใจของผู้ใต้บังคับบัญชา (development of decision -making skills)
5. ช่วยให้งานของผู้ใต้บังคับบัญชามีความหมายมากขึ้น (enrichment of  subordinate jobs)
6. ลดความขัดแย้งและสร้างทีมงาม (facilitation of conflict resolution   and team building)       
¿¿¿¿¿¿¿¿¿¿¿¿¿¿¿¿¿¿¿¿

วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

๑๖ มกราคม วันครู

               พระคุณครู
   สิบหกมกรา           มาบรรจบ
ขอน้อมนบ              ไหว้ครูผู้สั่งสอน
คอยอบรมบ่มศิษย์      ให้รู้นอน
ทุกคำสอนมีค่า          น่าจดจำ

    ศิษย์ขอกราบขอบคุณ    ครูล้นเหลือ
ที่คอยเกื้อเจือจุน               หนุนใจฉัน
มีทุกสิ่งในวันนี้                 เพราะครูทำ
ครูของฉันเลอเลิศ             ประเสริฐเอย
ประวัติวันครู    ในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 คณะรัฐมนตรีมีมติให้วันที่ 16 มกราคมของทุกๆ ปี เป็น วันครู และการจัดงานวันครู ได้มีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500  และให้ดำเนินเรื่อยมาทุกปี นับตั้งแต่บัดนั้นมา โดยจัดให้มี วันครู ขึ้นพร้อมกันทั่วประเทศ 
ความหมายของครู    ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ
ความสำคัญของครู    ในชีวิตของคนเราถือว่า บิดามารดา เป็นผู้มีพระคุณอันสูงสุด เพราะท่านเป็นผู้ให้ชีวิต ให้ความรัก ให้ความเมตตา มีความห่วงใย และเสียสละเพื่อลูก นอกจาก บิดามารดา แล้ว
ก็มีครูเป็นผู้มีพระคุณคล้าย บิดามารดา คือ เป็นผู้อบรมสั่งสอนถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ รวมทั้งให้ความรัก ความเมตตาต่อศิษย์ทุกคน นับได้ว่าครูเป็นผู้เสียสละที่ไม่แพ้บุพการี 
            ครูจึงนับเป็นปูชนียบุคคลที่มีความสำคัญอย่างมาก ในการให้การศึกษาเรียนรู้ ทั้งในด้านวิชาการ และประสบการณ์ ตลอดเป็นผู้มีความเสียสละ ดูแลเอาใจใส่ สั่งสอนอบรมให้เด็กได้พบกับแสงสว่างแห่งปัญญา อันเป็นหนทางแห่งการประกอบอาชีพเลี้ยงดูตนเอง รวมทั้งนำพาสังคมประเทศชาติ ก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ฉะนั้นวันที่ 6 ตุลาคม จึงได้เป็นวันครูสากล เพื่อคนที่เป็นครูทั่วโลกที่เสียสละนำพาเราทุก ๆคน ไปถึงฝั่งฝันนั่นเอง
ประวัติความเป็นมา     วันครู ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ.2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภา เป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกัน ก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษา ทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครูจัดสวัสดิการให้ครู และครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้ และความสามัคคีของครู
              ทุกปีคุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา เป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา พ.ศ.2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป.พิบูล สงคราม นายกรัฐมนตรี และประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า 
            "ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่า วันครู ควรมีสักวันหนนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพสักการะต่อวันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง"
              จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ให้มีวันครูเพี่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพจารย์ ส่งเสริมความสามัคคีธรรมระหว่างครูและพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน
              คณะมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2499 ให้วันที่ 16 มกราคมของทุกปีเป็น วันครู โดยถือเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2488 เป็น วันครูและให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าว
               งานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2500 ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญ คือ หนังประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ
คำปฏิญาณตนของครู         
            ข้อ 1 ข้าจะบำเพ็ญตน ให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู
            ข้อ 2 ข้าจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ
            ข้อ 3 ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครู และบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม

วันศุกร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2554

Children's Day

"วันเด็กแห่งชาติ"   ที่ถูกกำหนดให้ตรงกับวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคมของทุกปี  
ประวัติความเป็นมา            
               วันเด็กแห่งชาติ  มีต้นกำเนิดมาจากการที่องค์การสหประชาชาติทั่วโลกเกิดความตื่นตัว และเห็นพ้องต้องกันว่าควรจะให้ความสำคัญแก่เด็ก ๆ โดยในปี พ.ศ. 2498 นายวี เอ็ม กุล ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิการเด็กระหว่างประเทศ ได้เป็นผู้เสนอต่อกรมประชาสงเคราะห์ ให้มีการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญ และความต้องการของเด็ก รวมถึงเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนในประเทศ โดยปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคม เตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติ   ทั้งนี้ การขานรับกับการจัดงานวันเด็กแห่งชาติได้เป็นไปอย่างกว้างขวาง ในปีเดียวกันนั้นเองทั่วโลกไม่น้อยกว่า 40 ประเทศ จัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติของตนขึ้น โดยได้มีการกำหนดว่าจะถือเอาวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปี เป็นวันเด็กแห่งชาติ  สำหรับประเทศไทย ได้ตอบรับข้อเสนอของนายวี เอ็ม กุลกานี ซึ่งบอกผ่านมาทางกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทยว่า ไทยควรจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติ รัฐบาลจึงได้จัดให้มีคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ขึ้นมาคณะหนึ่ง ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชน กำหนดให้มีการฉลองวันเด็กแห่งชาติทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จุดประสงค์เพื่อให้เด็กทั่วประเทศทั้งในระบบโรงเรียน และนอกระบบโรงเรียน ได้รู้ถึงความสำคัญของตน เกี่ยวกับสิทธิ  หน้าที่ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย ที่มีต่อตนเองและสังคม มีความยึดมั่นในสถาบันชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข 
              อย่างไรก็ตามงานวันเด็กแห่งชาติครั้งแรกของประเทศไทย จัดขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2498 จากนั้นเป็นต้นมา ราชการได้กำหนดวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปี เป็นวันเด็กแห่งชาติ โดยจัดต่อเนื่องกันมาจนถึงปี 2506 ที่ประชุมคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติในปีนั้น ได้มีความเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรที่จะเสนอเปลี่ยนวันจัดงานวันเด็กแห่งชาติเสียใหม่ ด้วยเหตุผลว่า เดือนตุลาคมสำหรับประเทศไทย เป็นเดือนที่ยังอยู่ในฤดูฝน มีฝนตกมาก เด็ก ๆ ไม่สะดวกในการเดินทางมาร่วมงาน นอกจากนี้วันจันทร์เป็นวันปฏิบัติงานของผู้ปกครอง จึงไม่สามารถพาเด็กของตนไปร่วมงานได้   ด้วยเหตุนี้ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเห็นชอบ ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2507 ว่า ควรจะเปลี่ยนเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม ที่มีความเหมาะสมและสะดวกมากกว่า ตามที่คณะกรรมการจัดงานวัดเด็กแห่งชาติเสนอมา ส่งผลให้ในปี 2507 ไม่มีงานวันเด็กแห่งชาติด้วยการประกาศเปลี่ยนได้เลยวันมาแล้ว งานวันเด็กแห่งชาติจึงเริ่มจัดขึ้นใหม่อีกครั้งในปี  2508  เรื่อยมาถึงปัจจุบัน                         
วัตถุประสงค์การจัดงานวันเด็กแห่งชาติ
        สำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ที่รัฐบาลไทยกำหนดไว้ คือ เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของเด็ก สนใจในการเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนเด็ก และช่วยเหลือสงเคราะห์เด็กเป็นพิเศษ เพื่อให้เด็กและและเยาวชนยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์     และการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เพื่อให้เด็กรู้จักหน้าที่ของตน     และอยู่ในระเบียบวินัยอันดี และเพื่อเผยแพร่ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิของเด็ก
             นอกจากนี้ จะเห็นได้ว่า ทุก ๆ ปี ในวันนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะพระราชทานพระบรมราโชวาท สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงโปรดประทานพระคติธรรม และ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีจะมอบคำขวัญวันเด็ก แสดงให้เห็นว่าเด็กเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดของชาติ เราจึงได้ยินคำพูดอยู่บ่อย ๆ ว่า    "เด็กคืออนาคตของชาติ เด็กฉลาด ชาติเจริญ"                                    
คำขวัญวันเด็กแห่งชาติ จากนายกรัฐมนตรี
"รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ" คำขวัญวันเด็กในปีนี้จาก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของไทย ซึ่งท่านนายกฯ ได้ให้คำตอบเกี่ยวกับแนวคิดของคำขวัญนี้ว่า
             รอบคอบ - เนื่องมาจากปัจจุบัน มีทางเลือกที่จะรับข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อใหม่ต่าง ๆ มากมาย ท่านนายกฯ อภิสิทธิ์เห็นว่า เยาวชนไทยต้องรู้รอบด้าน จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จนอาจทำสิ่งที่เกิดปัญหาแก่ตนเองและสังคมได้ในอนาคต
             รู้คิด - เมื่อเยาวชนไทยเรียนรู้รอบด้านแล้ว ต้องรู้จักคิดใช้ชีวิตอย่างมีสติไม่ประมาท ท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ จึงอยากให้น้อง ๆ เด็ก ๆ รู้จักคิดให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่นด้วย
             จิตสาธารณะ - สังคมต้องพึ่งพิงกัน เห็นได้ในยามมีภัยคนไทยเราช่วยกัน การปลูกฝังจิตสำนึกเช่นนี้จำเป็นอย่างยิ่งในสังคม โดยต้องเริ่มที่เด็ก ๆ เยาวชนไทย                                                                 
กิจกรรมวันเด็ก
        กิจกรรมต่าง ๆ ที่ปฏิบัติในวันเด็กแห่งชาติ  ล้วนมีจุดประสงค์ไปในทางเดียวกัน คือ เพื่อให้เด็กได้ตระหนักถึงคุณค่าบทบาท และความสำคัญของตนเอง โดยการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้น ในโรงเรียน หมู่บ้าน หรือหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนจัดขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าทุกถิ่นจะมีขนมมากมาย มีคำเชื้อเชิญเพราะ ๆ มีคำอวยพรให้เด็กๆ เป็นวันที่เด็ก ๆ มีสิทธิพิเศษ ถนนทุกสาย เปิดพื้นที่ให้เด็กๆ หรือร่วมกันทำกิจกรรม ในแต่ละชุมชนเพื่อเด็กๆ จัดบรรยากาศเพื่อเด็ก ๆ เพลงเด็ก ๆ ของขวัญเพื่อเด็ก ๆ